- คำถามพบบ่อย – iReed
1.ไฟไม่เข้า ทำอย่างไร ?
หากไฟไม่เข้า ให้ตรวจสอบการเสียบอะแดบเตอร์กับไฟบ้าน และสาย MiniUSB กับเครื่อง iReed แล้วให้ลองทำการเสียบใหม่อีกครั้ง หากไฟยังไม่เข้าให้ลองถอดฝาหลังและใส่แบตเตอรี่ใหม่อีกครั้ง
2.เครื่องค้างไม่สามารถใช้งานได้ ทำอย่างไร ?
ให้ทำการกดปุ่ม Power มุมบนขวามือค้างไว้สักประมาณ 3-5วินาที เพื่อปิดเครื่องและทำการเปิดใหม่ หากยังไม่สามรถใช้งานได้ให้กดปุ่มฝาหลังแล้วสไลด์ฝาหลังออกตามลูกศร แล้วดึงแบตเตอรี่ออกทิ้งไว้ แล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่ ทดลองเปิดเครื่องอีกครั้งตามข้อ 1
3.จะโหลดหนังสือ E-Book ได้จากไหน ?
การโหลดหนังสือสามารถโหลด Ebook ได้จาก Ebook Store ต่างๆ ที่เป็นไฟล์ EPUB หรือ PDF เท่านั้น แต่ต้องเป็นหนังสือที่ไม่มีการป้องกันการใช้อุปกรณ์ (ระบบDRM) ร่วมกับ iReed หรือสามารถที่จะนำหนังสือ PDF ที่อยู่บนคอมพิวเตอร์ของท่านในรูปแบบไฟล์ EPUB/PDF แล้ว copy มาในเครื่อง iReed ได้ หรือสามารถเยี่ยมชมเวบไซต์ www.ireed.info เพื่อโหลดหนังสือได้เช่นกัน (ให้บริการในอนาคต)ทั้งนี้ iReed ไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหาทำผิดกฎหมายหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ของหนังสือสำนักพิมพ์ ต่างๆ ที่ผู้อ่านนำมาบรรจุในเครื่องนี้เองภายหลัง
4.สามารถใช้แบตเตอรี่อื่นทดแทนได้หรือไม่ ?
ไม่สามารถใช้แบตเตอรี่อื่นๆ เพื่อทดแทนได้ หากปราฎว่ามีการใช้งานร่วมกับเครื่อง iReed จะสิ้นสุดประกันทันที
5.สามารถเพิ่มความจุได้หรือไม่ ?
สามารถเพิ่มความจุหรือ Memory ของ เครื่อง iReed ได้ โดยการเปลี่ยน MicroSD Card ซึ่งอยู่ด้านในหลังเครื่อง iReed (ต้องเปิดฝาหลังออกโดยการกดปุ่มและสไลด์ออก) ทั้งนี้แนะนำให้ทำการเลือกใช้ MicroSD Card ที่มีความเร็วการ อ่าน/เขียนข้อมูลของ MicroSD card สูงๆ เพื่อความรวดเร็วของเครื่อง iReed ในการอ่านข้อมูลจาก MicroSD card นั่นเอง
6.การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทำได้หรือไม่ ?
สามารถเชื่อมต่อผ่านทาง Public Wifi Network อาทิเช่น TOT_Wi-fi, @TRUEWIFI และ 3BB_Hotspot หรือ Hotspot อื่นๆ ที่ไม่มีการป้องกันการเชื่อมต่อแบบ Security ขั้นสูง โดยหลังจากเชื่อมต่อได้แล้วจึงสามารถเปิดเว็บได้ โดยเครื่อง iReed จะทำการเปิดเวบไซต์ www.ireed.info เป็น Default webpage แต่ทั้งนี้เว็บไซต์ ที่เปิดโดยเครื่อง iReed จะไม่สามารถตอบสนองต่อการใช้งาน Animation , Flash หรือ ลูกเล่นขั้นสูง ต่างๆ บนเวบไซต์นั้นๆ ได้ เนื่องด้วยข้อจำกัดของ Web Browser ที่ติดตั้งมาในเครื่อง iReed นั่นเอง เนื่องจาก iReed ได้รับการออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการอ่านหนังสือเท่านั้น ไม่ได้ ออกแบบมาเพื่อใช้งานอเนกประสงค์นอกเหนือจากการอ่านแต่อย่างใด…
7.การเปลี่ยน Font ของเครื่อง iReed ทำอย่างไร ?
สามารถเข้าไปทำการเปลี่ยนได้ที่เมนูการตั้งค่า หลังจากการเลือก Font แล้ว จะมีการ Restart เพื่อบูทเข้าระบบใหม่อีกครั้ง
8.หากมีไฟล์หนังสือ PDF ที่อยู่บนคอมพิวเตอร์ แล้วนำมาอ่านบนเครื่อง iReed สามารถขยายได้หรือไม่ ?
หากต้องการดูหนังสือที่เป็น PDF สามารถทำการปรับตั้งค่าได้ 3แบบดังนี้คือ เมื่ออยู่โหมดอ่านหนังสือ ให้ทำการเลือกเมนูเพื่อ
1. เลือกแสดงเต็มจอ เพื่อปรับค่า Margin ของหนังสือให้แสดงเต็มจอมากขึ้น หรือ 2. ให้ทำการเลือกยกเลิก Picture Wrapping
เพื่อให้แสดงเฉพาะ Font ในหน้านั้นๆ แทนเพื่อให้แสดงตัวหนังสือเต็มจอมากขึ้น หรือ 3. ให้ทำการเลือกเพื่อ Zoom
ซึ่งสามารถทำได้ตั้งแต่ 120-400% แต่ทั้งนี้ให้ทดลองปรับทีละสเต็บๆ ขึ้นไป เพราะการ Zoom มากเกินไป อาจทำให้เกิดการล้นจอ
และต้องมีการเลื่อนจอไปมา อาจทำให้ไม่สะดวกในการอ่านได้ ทั้งนี้หากทำทั้ง 3 แบบที่ว่ามาแล้ว ยังไม่สามารถอ่านหนังสือได้
ก็เหลือแนวทางสุดท้ายคือหาไฟล์หนังสือต้นฉบับ แล้วทำการใช้ Microsoft Office เพื่อ Save as to PDF
โดยก่อนการเซพให้ปรับ Font ใหญ่ขึ้น ตัวอย่างเช่น 18, 20, … โดยทดลองปรับ Font และ Save as to PDF
แล้วจึง Copy ไปยังเครื่อง iReed เพื่อทำการทดสอบว่าสามารถอ่านได้สบายตาหรือไม่ หากยังไม่ได้ให้กลับไป
ปรับตั้ง Font ให้ใหญ่มากขึ้นอีก ที่ต้องทำเช่นนี้เนื่องจากชนิดของ Font ที่แตกต่างกัน อาจทำให้ขนาดเล็กใหญ่ต่างกันไป
9.เงื่อนไขการรับประกันสินค้า เป็นอย่างไร ?
การรับประกันตัวเครื่อง iReed 1 เดือน นับจากวันที่ซื้อสินค้า (ยกเว้นสินค้าโปรโมชั่น ที่รับประกัน 1สัปดาห์)
ยกเว้นการรับประกันกรณีเครื่อง iReed ตกกระแทก มีร่องรอยเสียหายจากการกระทำของมนุษย์ และโดนน้ำ
หรือการซ่อมแซมโดยบุคคลภายนอก จะสิ้นสุดประกันทันที
10.การส่งเครื่องซ่อม ต้องติดต่อที่ไหน ?
สามารถติดต่อส่งสินค้าเพื่อการซ่อมได้ที่ Contact@ireed.info หรือ 082 567 3000
ทั้งนี้หากนอกเหนือการรับประกัน จะมีค่าบริการในการเปิดเครื่อง และตรวจสอบเครื่องด้วย
- คำถามพบบ่อย – Ebook
1. Ebook คืออะไร ?
“อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึง
หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ และยังสามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ได้อีกด้วย
สำหรับส่วนประกอบของ EBook นั้นประกอบด้วย ส่วนประกอบดังนี้
1) EBookReader คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากคอมพิวเตอร์แล้ว
ปัจจุบันได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีลักษณะที่พกพาได้ มีรูปทรงขนาดเล็ก บางเบา โดยใช้กับซอฟต์แวร์พิเศษ
ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการอ่านเพื่อให้อ่านได้นานที่ สุด นอกจากนี้หน้าจอของเครื่องอ่านหนังสือเองก็มีการออกแบบพิเศษ
โดยใช้หลักการดีไซต์ให้สามารถอ่านได้เหมือนการอ่านจากกระดาษจริงๆ ทำให้ไม่เมื่อยล้าสายตา
และช่วยถนอมสายตาอีกด้วย ทั้งเครื่องอ่านหนังสือ iReed เองก็ได้ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีจอ Electronic-Ink
หรือหมึกพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ด้วย Green Designed ที่ทำให้ประหยัดไฟสามารถใช้งานโดยไม่ชาร์จไฟ 2-4สัปดาห์ (ขึ้นกับการใช้งาน)
และหน้าจอเหมือนการอ่านจากหนังสือจริงๆ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม iReed ได้ในหัวข้อสินค้า iReed E-Ink Reader)
2) Software ที่ใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้ติดตั้งใน
เครื่องอ่านหนังสือต่างๆ เช่น Acrobat eBook Reader, Acrobat Reader, Microsoft Reader, Palm Reader
และ DNL Reader เป็นต้น โดย Software ที่ดีต้องสามารถทำการตัดคำและแสดงผลได้สมบูรณ์
อีกทั้งยังมีเมนูอำนวยความสะดวกในการอ่านหนังสือต่างๆ มากมาย
3) Digital Publishing Platform หรือระบบการจัดการระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Adobe Content Server 3,
Microsoft Digital Asset Server, Palm, Retail Encryption Server Software เป็นต้น
นอกจากนี้ระบบยังต้องมีความสามารถในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธ์ (Digital Right Management System) ได้อีกด้วย
2. ข้อแตกต่างระหว่าง Ebook และหนังสือทั่วไป ?
Ebook | หนังสือปกติ |
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ | 1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ |
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างให้มีภาพเคลื่อนไหวได้ | 2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา |
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้ | 3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบ |
4. หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล (update)ได้ง่าย | 4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก |
5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้ | 5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง |
6. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ ประหยัด | 6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิต |
7. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด | 7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ |
8. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านด้วยโปรแกรม หรือเครื่องอ่านหนังสือ iReed | 8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม |
9. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถสั่งพิมพ์ (print)ได้ (ขึ้นกับ Program) | 9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถพิมพ์ได้ |
10. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อมกันได้จำนวนมาก (ออนไลน์) | 10. หนังสือทั่วไปอ่านได้ 1 คนต่อ 1 เล่ม |
11. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาสะดวกได้ครั้งละจำนวนมากผ่านเครื่องอ่านหนังสือ iReed | 11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) |
12. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | 12. หนังสือทั่วไปต้องมีการใช้ต้นไม้หรือทรัพยากธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปเพื่อจัดทำหนังสือ |
3. E-Ink Display คืออะไร ?
กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Ink คือลักษณะเฉพาะตัวที่ต้องการของกระดาษกับ
ความสามารถถ่ายเทข้อมูลให้แสดงออก มาโดยทางไฟฟ้าได้ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์เป็นวัสดุที่แสดงภาพ (Display material)
ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นชั้นพลาสติกใสบาง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วยเม็ดบีด (Bead) เล็ก ๆ จำนวนหลายล้านเม็ด
โดยที่แต่ละเม็ดบีดนั้นมี 2 สี ครึ่งหนึ่งจะเป็นสีขาว ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะเป็นสีดำ หรือจะเป็นคู่ของสีอื่น ๆ ก็ได้
และถูกบรรจุอยู่ในโพรงที่ข้างในเต็มไปด้วยของเหลวเช่น น้ำมัน หรือน้ำ เม็ดบีดนี้สามารถหมุนได้อย่างอิสระภายในโพรงนั้น
กระดาษอิเล็กทรอนิกส์มีสมบัติที่ดีหลายประการ เช่น มีความละเอียดและคมชัดของภาพสูงซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างง่ายดาย
ทั้งในสภาวะที่แสงแดดจ้าหรือสภาวะที่แสงสลัว ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานจากภายนอกในการที่จะให้ภาพคงอยู่
มีน้ำหนักเบาและสามารถพับงอได้ สามารถมองเห็นได้ในมุมที่กว้างเหมือนกระดาษทั่วไปซึ่งต่างจาก
จอแสดงภาพ LCD (Liquid-Crystal Display) ทั่ว ๆ ไป สามารถเขียนและลบใหม่ได้หลายล้านครั้งโดยไม่มีการชำรุด
และมีราคาไม่แพง เนื่องจากต้นทุนต่ำ ถึงแม้ว่าจะใช้ต้นทุนการผลิตมากกว่ากระดาษทั่วไป แต่กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นี้
สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายพันครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการไม่ทำลายทรัพยากรป่าไม้อีกด้วย กระดาษอิเล็กทรอนิกส์นี้
จึงสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น หนังสือดิจิตอล จอภาพที่สามารถพกพาได้และใช้พลังงานต่ำ
จอภาพขนาดใหญ่และ จอภาพพับได้ เป็นต้น โดยเครื่องอ่่านหนังสือ iReed ก็ได้ใช้จอชนิดนี้ด้วยเช่นกัน
ซึ่งเป็นจอที่ออกแบบและผลิตมาเพื่อการอ่านหนังสืออย่างแท้จริง
*อ้างอิงจาก อภิรัตน์ เลาห์บุตรี , บุศรินทร์ เฆษะปะบุตร , มาณพ ปานะโปย ; มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม